Friday, 8 April 2016

ATM/Debit กดฟรีทุกตู้ เจ้าไหนถูกสุด?

หลายคนคงมีปัญหาไปธนาคาร อยากได้บัตร ATM/Debit ธรรมดา
แต่กลับได้บัตรพ่วงประกันแสนแพงมาแทน

แต่..

จะรออะไรอยู่ ในเมื่อมีทางเลือกที่ดีกว่าในการใช้บัตร
ลองเปิดใจ ใช้ธนาคารที่อาจจะสาขาน้อยกว่าสักหน่อย
ตู้ ATM ก็มีน้อย แต่ไม่เป็นปัญหาเลย เพราะบัตรของธนาคารเหล่านี้
มักจะกดได้ทุกตู้ ฟรีค่าธรรมเนียม จ่ายแค่รายปี จบ!
ไปดูกันดีกว่า ว่ามีธนาคารอะไรบ้าง

1. ธนาคารธนชาต

ธนาคารธนชาต นับว่าเป็นธนาคารที่มีสาขากระจายอยู่พอสมควร
ธนชาตมี 2 บัตรหลัก ๆ คือ ฟรีเว่อร์ กับ ฟรีเว่อร์ไลท์
บัญชีฟรีเว่อร์ จะฟรีค่าธรรมเนียมบัตรรายปีด้วย แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องคงยอดเงินในบัญชีเฉลี่ยต่อเดือน 5,000 บาทขึ้นไป (*ตรวจสอบกับทางธนาคารอีกครั้ง) และมีค่าบัตรแรกเข้า 100 บาท
บัญชีฟรีเว่อร์ไลท์ มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท ค่าธรรมเนียมรายปี 250 บาท ไม่มีเงื่อนไขว่าต้องรักษายอดบัญชีอะไร
**บัญชีฟรีเว่อร์ และบัญชีฟรีเว่อร์ไลท์

2. Standard Chartered Bank Thailand

ข้อจำกัดแรกของ SCBT คือ สาขามีน้อยเหลือเกิน และจำกัดอยู่เฉพาะเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น ตัวอย่างสาขา สีลม สีลมซอย 6 เซ็นทรัลเวิร์ลด์ สาธร (สำนักงานใหญ่) รัชโยธิน
แต่ก็อย่างที่เห็น สาขาของธนาคารนี้มักตั้งอยู่ในแหล่งสำนักงาน จึงอาจเหมาะกับพนักงานบริษัทที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น
ในส่วนของค่าธรรมเนียมก็ตรงไปตรงมา ปีละ 200 บาท ชิปการ์ด 250 บาท ไม่มีค่าแรกเข้า กดได้ทุกตู้ในประเทศ (บัตรหาย ใบละร้อย)
*ถ้าใช้บริการธนาคารนี้จะสบายใจตรงที่ ไม่มีขายของ และคนน้อย
**บัญชี JustOne Savings



3. CIMB Thai

หาดูประเภทชิปการ์ดดีกว่าครับ บัตรเอทีเอ็ม ซีไอเอ็มบี ไทย สมาร์ทพอยต์ - ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 190 บาท ค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท (ฟรีถึง 15 พ.ค. 59)
สำหรับบัตรนี้ จะเป็นแค่บัตร ATM ไม่ใช่เดบิต แต่พิเศษตรงที่พ่วงบัตร 7-11 มาในบัตรเดียวกันด้วย ซึ่งก็มีสิทธิประโยชน์ ลองเข้าไปดูได้ และอีกจุดเด่นหนึ่งของ CIMB Thai คือเป็นธนาคารที่มีสาขาในหลายประเทศในอาเซียน จึงทำให้ธนาคารให้บริการ "ฟรี! ค่าธรรมเนียมถอนเงินสดข้ามประเทศ จากตู้เอทีเอ็มของกลุ่มซีไอเอ็มบี ทั้ง 5 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา)"
**บัตรเอทีเอ็ม ซีไอเอ็มบี ไทย สมาร์ทพอยต์

***โปรดตรวจสอบรายละเอียด ก่อนสมัครอีกครั้ง
*****จริง ๆ แล้วมีอีกหลายธนาคารที่มีบริการบัตรในรูปแบบนี้ เพียงแต่ค่าธรรมเนียมมักจะแพงกว่า และอาจมีเงื่อนไขให้สมัครบริการ SMS Banking เพิ่ม (ซึ่งเสียค่าธรรมเนียม) ซึ่งแบงก์อื่นที่มีบริการบัตรแนวนี้ เช่น Krungsri, TMB เป็นต้น

No comments:

Post a Comment